วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

เมื่อปี ค.ศ.1943(พ.ศ. 2486)นาวิกโยธินสหรัฐ ได้ยกพลขึ้นบกที่สมรภูมิ "Tarawa" โดยไม่มีการสำรวจหาดมาก่อน เรือยกพลขึ้นบกได้ลำเลียงทหารนาวิกโยธินมาจอดห่างฝั่งไปประมาณ 1,000 หลาเมื่อนาวิกโยธิน สหรัฐ ยก พลขึ้นบกจึงถูกสังหารหมู่อย่างน่าสลดใจนับเป็นบทเรียนที่ มีความสำคัญอย่างยิ่งกองทัพเรือสหรัฐ จึงได้เริ่มต้น โครงการฝึกนักดำน้ำทางยุทธการขึ้นซึ่งเป็นที่มาของ นักทำลาย ใต้นำ้และต่อมาได้มีการพัฒนขีดความสามารถ เป็นนักทำ ลายใต้น้ำจู่โจมตามลำดับ(Combatwimmer Underwater Demolition Team , UDT/SEAL ) ในช่วงประมาณตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางฝ่ายสหรัฐ ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในการใช้นักทำลายใต้น้ำ แต่ฝ่ายสหรัฐ ก็ได้ปูพื้นฐานควบคู่กันไปทั้งการคัดเลือก การฝึกและการส่งเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ ภารกิจของนักทำลายใต้น้ำสหรัฐ ค่อนข้างจะแตกต่างจากนักทำลายใต้นำ้อังกฤษและอิตาลี นั่นคือ แทนที่จะใช้ในการโจมตีเรือหรือใช้ในภารกิจเชิงรุก นักทำลายใต้น้ำสหรัฐ กลับได้รับมอบภารกิจหลักในการสนับสนุนการยกพลขั้นบก ปัญหาของฝ่ายสหรัฐ ในปี ค.ศ. 1943 คือจะทำอย่างไรให้กำ ลังรบยกพลขึ้นบกสามารถขึ้นหาดได้อย่างปลอดภัย ซึ่ง เป็นที่มาของความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับหาดก่อนการ วาง แผนการยุทธสะเิทินน้ำสะเทินบกถึงแม้จะเป็นเวลา มาก กว่า 50 ปี ล่วงมาแล้ว


แต่โปรแกรมการฝึกนักทำลายใต้น้ำจู่โจมในทุกวันนี้ก็ไม่ได้แตกต่างกับการฝึกมนุษย์กบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มากนัก โดยยังคงมีการฝึกวิ่ง ฝึกร่างกายและฝึกว่ายน้ำอย่างหนัก ฝึกใช้วัตถุระเบิด ฝึกใช้อาวุธและฝึกการต่อสู้โดยไม่ใช้ อาวุธ อาสาสมัครที่เข้ามารับการฝึกนั้น จะมีชีวิตประจำวันและมีหน้าที่แตกต่างจากที่เคยได้รับการฝึกมาก่อน ครูฝึกจะดำเนิน การฝึกและควบคุมการฝึก ฝึกแล้วฝึกอีก จากแห้งจนเปียกและเปียกจนแห้ง

นักเรียนนักทำลายใต้น้ำจู่โจมนั้น จะได้รับการฝึกว่ายน้ำระยะไกล เขียนแผนที่สำรวจหาด ฝึกวัตถุระเบิดและการ ทำลายสิ่งกีดขวางหน้าหาดโดยไม่ใช้ตีนกบ ชุดดำน้ำ Wet Suit และไม่ใช้เครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ นักเรียนจะได้รับเพียงแผ่น สเลต ดินสอและลูกดิ่งสำหรับวัดความลึกเท่านั้นเอง


ในช่วงประมาณตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2ต้นปี ค.ศ.1943กองทัพบกสหรัฐ ฯได้เริ่มทดลองเกี่ยวกับเทคนิคในการ ระเบิดทำลายสิ่งกีดขวางโลหะ และคอนกรีตในลักษณะเดียวกับที่ฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายเยอรมันใช้เป็นสิ่งกีดขวางหน้าหาด การทดลองดังกล่าวได้ดำเนินไปพร้อมกับการฝึกหลักสูตรนักเรียนนักทำลายใต้น้ำจู่โจมที่ Ft.Pierce ถึงแม้ว่าโปรแกรมดัง กล่าวจะไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แต่ก็มีพื้นที่การฝึกอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน กองทัพเรือสหรัฐ ฯ จึงได้ทำความตกลงกับกองทัพบก สหรัฐ ฯ ว่า นั่นเป็นงานของกองทัพเรือ หลังจากนั้นเป็นต้นมาการทำลายสิ่งกีดขวางหน้าหาดก็ได้ถูกจัดให้เป็นภารกิจ กองทัพเรือ

ต้นปี ค.ศ.1943 กองทัพบกสหรัฐ ฯ ได้เริ่มทดลองเกี่ยวกับเทคนิคในการระเบิดทำลายสิ่งกีดขวางโลหะ และคอนกรีต ในลักษณะเดียวกับที่ฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายเยอรมันใช้เป็นสิ่งกีดขวางหน้าหาด การทดลองดังกล่าวได้ดำเนินไปพร้อมกับการฝึก หลักสูตรนักเรียนนักทำลายใต้น้ำจู่โจมที่ Ft.Pierce ถึงแม้ว่าโปรแกรมดังกล่าวจะไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แต่ก็มีพื้นที่การฝึกอยู่ใน บริเวณใกล้เคียงกัน กองทัพเรือสหรัฐ ฯ จึงได้ทำความตกลงกับกองทัพบกสหรัฐ ฯ ว่านั่นเป็นงานของกองทัพเรือ หลังจากนั้นเป็นต้นมาการทำลายสิ่งกีดขวางหน้าหาดก็ได้ถูกจัดให้เป็นภารกิจกองทัพเรือ

โปรแกรมการฝึกหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำของสหรัฐ ฯ ได้รับการปรับปรุงและผ่านความเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1943 ต่อมาได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยทำลายใต้น้ำ( Naval Demolition Unit)ซึ่งนอกจากจะมีภารกิจในการลาด ตระเวนสำรวจหาดแล้ว ยังมีภารกิจในการทำลายสิ่งกีดขวางหน้าหาดที่คาดว่าฝ่ายเยอรมันจะวางไว้เพื่อเปิดเส้นทางในการยก พลขึ้นบก


ในสมัยนั้นนักทำลายใต้น้ำแบ่งออกเป็น 2 ทีมด้วยกัน ทีมที่ 1 รับผิดชอบภารกิจในทวีปยุโรป มีกำลังพล 13 นาย ทีมที่ 2 รับผิดชอบภารกิจในภาคพื้นที่แปซิฟิก มีกำลังพล 96 นาย

หลังจากโศกนาฏกรรมที่ Tarawa เพียง 2 เดือน หน่วยทำลายใต้น้ำก็ได้รับมอบภารกิจในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1944 ที่ Kwajalein โดยมีนักทำลายใต้น้ำเข้าร่วมปฏิบัติการ 2 หมวด หมวดที่ 1 ปฏิบัติการร่วมกับกองทัพบกสหรัฐ ฯ และหมวดที่ 2 ปฏิบัติการร่วมกับนาวิกโยธินสหรัฐ ฯ ทั้งสองหมวดได้ดำเนินการลาดตระเวนสำรวจหาดในเวลากลางคืนและยืน ยันความเหมาะสมในการที่จะเข้าโจมตีด้วยเรือ นอกจากนี้หมวดทำลายใต้น้ำที่ 1 ยังได้รับมอบภารกิจที่มีความเสี่ยงมากขึ้น โดยการลาดตระเวนหาข่าวในเวลากลางวันเกี่ยวกับที่ตั้งฐานยิงปืนของข้าศึก และสิ่งกีดขวางใต้น้ำที่เป็นอันตราย

หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ ได้ดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นที่เกาะเล็ก ๆ เกาะหนี่ง ที่ Eniwetok ต่อมาในเดือนมิถุนายน ได้ดำเนินการที่ Saipan จากนั้นดำเนินการต่อไปที่ Guam และ Peleliu ในที่สุดกระแสของสงครามได้ผลักดันให้สหรัฐ ฯ รบกับญี่ปุ่น หน่วยทำลายใต้น้ำยังคงเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องเข้าไปยังหาดของข้าศึกเพื่อให้หน่วยงานอื่น ๆ สามารถดำเนินกลยุทธต่อไปได้

หน่วยทำลายใต้น้ำของสหรัฐในสมัยนั้น มีการจัดหน่วยในลักษณะเช่นเดียวกับการจัดหน่วยทหารราบ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1944 นักทำลายใต้น้ำสหรัฐ ฯ ได้ปฏิบัติการยุทธกับฝ่ายเยอรมันที่หาดนอร์มังดีซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางใต้น้ำ ทั้งที่เป็นเหล็กและคอนกรีต โดยได้จัดกำลังเป็นชุดโจมตีจำนวน 175 นาย ปฏิบัติการร่วมกับทหารช่างกองทัพบกสหรัฐ ฯ เริ่มออกจากเรือพี่เลี้ยงเวลา 0633 ท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวเย็น คลื่นหัวแตกและสภาวะทะเลที่เลวร้าย

พวกเขาใช้ดินระเบิดแพ็ค ( Satchel Charges ) ฝักแคระเบิดและฝักแคเวลา วางที่สิ่งกีดขวางใต้น้ำภายใต้การ ยิงต้านทานอย่างหนักจากปืนกล เครื่องยิงลูกระเบิดน้ำลึก (Mortars) ปืนเล็กยาวและปืนใหญ่ ใช้เวลาปฏิบัติการ 5 ชั่วโมง ประมาณเที่ยงจึงสามารถเปิดช่องทางเข้าโจมตีได้ 5 ช่องทางซึ่งทางฝ่ายเยอรมันได้จัดทำไว้สำหรับต่อต้านรถถัง รถสายพานและรถลาดตระเวนรวมทั้งยานพาหนะต่าง ๆ ทั้งหมด ในวันนั้นนักทำลายใต้น้ำมากกว่าครึ่งได้เสียชีวิต บาดเจ็บและ สูญหาย แต่กองกำลังโจมตีสามารถยกพลขึ้นบกที่ฝรั่งเศสได้ 1 กองพลในวันต่อมา การสูญเสียดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับ ผลสำเร็จของการปฏิบัติการที่ยิ่งใหญ่นั้น ในทางทหารถือว่าน้อยมาก

แนวความคิดในการปฏิบัติการลาดตระเวน มีหลากหลายหนทางด้วยกันโดยอาจจะกำหนดเป็นวงแคบและใช้ปฏิบัติการ ทางลับ หรืออาจจะกำหนดเป็นวงกว้างและใช้เวลายาวนานในการศึกษาภูมิประเทศพื้นที่เป้าหมายและหน่วยกำลังรบของข้า ศึก การลาดตระเวนสามารถกระทำได้ทั้งในน้ำ หน้าหาดหรือปฏิบัติการลึกเข้าไปในภูมิประเทศ นอกจากนั้นยังมีแนวทาง ปฏิบัติอีกมากที่แตกต่างจากที่กล่าวแล้ว และแตกต่างจากการลาดตระเวนสำรวจหาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการลาด ตระเวนอย่างไรก็ตามนักทำลายใต้น้ำจู่โจมยังคงต้องมีการฝึกอย่างหนัก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

การปฏิบัตินั้นจะเริ่มต้นโดยผู้บัญชาการกองกองกำลังเฉพาะกิจยกพลขึ้นบกจะนำกองกำลัง โจมตีมายังหาดเมื่อมีความ เป็นไปได้ในการ เริ่มเปิดฉากการโจมตี ผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจยกพลขึ้นบกจะสั่งการโดยตรงให้ฝ่ายอำนวย การของเขา ซึ่งจะประกอบด้วยนายทหารการข่าวและนายทหารยุทธการเพื่อเริ่มต้นกระบวนการวางแผนผู้บัญชาการกองกำลัง เฉพาะกิจยกพลขึ้นบกนั้น จะเลือกหาดใดหาดหนึ่งหรืออาจจะหลายหาดมาทำข้อพิจารณา

นายทหารการข่าวและนายทหารยุทธการนั้นจะจัดทำข้อพิจารณาของฝ่ายอำนวยการ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็จะมอบกิจให้ชุดปฏิบัติการพิเศษดำเนินการลาดตระเวนสำรวจหาดและนำแผนที่สำรวจมาใช้ในการวางแผน ชุดปฏิบัติการพิเศษที่ปฏิบัติภารกิจนี้ ปกติจะเป็นชุดพร้อมประจำกองกำลังยกพลขึ้นบก หรือชุดปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious Ready Group:ARG) ซึ่งชุดปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกนี้ อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยดีนัก เนื่องจากอาจจะยังใหม่อยู่ แต่ต่อไปจะเป็นที่รู้จักดียิ่งขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันนี้ ได้มีการมอบกิจให้อย่างต่อเนื่อง

ผู้บังคับชุดปฏิบัติการพิเศษนั้นจะได้รับภารกิจ ซึ่งจะครอบคลุมในรายละเอียดเกี่ยวกับความต้องการในการสนับสนุนการ ปฏิบัติของ ชุดปฏิบัติการพิเศษ แต่จะไม่บอกว่าจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะทำให้ภากิจนั้นประสบผลสำเร็จซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้อง นำมาวางแผนการปฏิบัติต่อไป

ชุดปฏิบัติการพิเศษจะดำเนินการระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา แล้วนำเสนอหนทางปฏิบัติให้แก่ฝ่ายยุทธการและฝ่ายการ ข่าว ทั้งนี้อาจจะมีหนทางปฏิบัติหลายหนทาง หรือหนทางเดียวเท่านั้นก็อาจจะเป็นไปได้พร้อมทั้งเสนอความต้องการ ปัจจัย สนับสนุน ในที่สุดแผนการปฏิบัติดังกล่าวจะได้รับการนำเสนอให้ผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจยกพลขึ้นบกเป็นผู้ พิจารณาอนุมัติ ซึ่งถ้าไม่อนุมัติ ก็จะต้องกลับมาเริ่มต้นกระบวนการวางแผนกันใหม่

หลังจากผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจยกพลขึ้นบกอนุมัติแผนการปฏิบัติแล้วภารกิจดังกล่าวก็จะถูกจัดไว้ในตารางการ ปฏิบัติโดยจะบรรจุอยู่ในขั้นการปฏิบัติ และชุดปฏิบัติการพิเศษจะถูกส่งออกไปปฏิบัติการตามตารางเวลาที่ได้กำหนดไว้ การแทรกซึมเข้านั้นตามปกติอาจจะกระทำได้โดยใช้เรือยางทางยุทธวิธี หรือเรือตรวจการณ์ สำหรับเรือตรวจการณ์นั้นจะนำ นักทำลายใต้น้ำจู่โจมไปปล่อยและรับกลับที่ระยะประมาณ 600 -1,000 เมตรจากฝั่งการลาดตระเวนในลักษณะนี้ตามปกติจะ ดำเนิน การในน้ำ ดังนั้นชุดปฏิบัติการพิเศษจะต้องว่ายน้ำในเวลากลางคืนโดยกระจายกันว่ายน้ำเข้าในรูปแถว การหยั่งความ ลึกน้ำกระทำได้โดยใช้ดิ่งน้ำตื้น แล้วจดบันทึกความลึกลงบนแผ่นสเลตพลาสติก ชุดสำรวจหาดนั้นอาจจะว่ายเข้าจนถึงหาด พร้อมกับบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแนวปะการัง หินใต้น้ำและสิ่งกีดขวางใต้น้ำ นอกจากนั้นพ้นจากแนวน้ำขึ้นสูงสุดไปชุดสำรวจ หาดจะต้องพิสูจน์ทราบเกี่ยวกับการป้องกันของข้าศึก เช่น ตำแหน่งของบังเกอร์ แท่นปืนใหญ่ และรังปืนกล รวมทั้งสิ่งกีด ขวาง ถนน และสภาพภูมิประเทศที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกำลังโจมตีในการขึ้นหาดและเข้าโจมตีที่หมาย

ก่อนปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Deaert Stom) เมื่อปี ค.ศ.1991 ชุดปฏิบัติการพิเศษได้ดำเนินการลาด ตระเวนสำรวจหาดก่อนการยกพลขึ้นบก เพื่อเลือกหาดที่เหมาะสมหลายหาดด้วยกันแต่ทั้งหมดก็ถูกต้านทานอย่างหนักจาก ฝ่ายอิรัก ทำให้กองกำลังโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกตกอยู่ในอันตราย จากผลการลาดตระเวนสำรวจหาดเหล่านั้น ทำให้ผู้บัญชา การกองกำลังเฉพาะกิจยกพลขึ้นบกทราบข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์จึงได้เลือกหนทางปฏิบัติในการยกพลขึ้นบกยัง หาดที่ฝ่ายอิรักคาดการณ์ไว้เพื่อตรึงกำลังต้านทานเหล่านั้นไว้ที่ชายฝั่ง ในขณะที่กำลังโจมตีจริงเข้าโจมตีหลังแนวต้านทา นั้น

ชุดปฏิบัติการพิเศษนั้นสามารถให้การสนับสนุนภารกิจของรัฐบาล โดยเป็นเครื่องมือในการใช้อาวุธพิเศษปราบปรามผู้ ู้ก่อการร้ายผู้ก่อการร้ายอาจจะดำเนินการใดๆที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเล หลวง

ในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 (ระหว่าง ค.ศ.1980 - 1989) ประเทศสหรัฐ ฯ ยังไม่มีหน่วยงานใด ๆ ในการแก้ไข ปัญหาการก่อการร้ายนอกจากอำนาจการยิงอย่างหนักหน่วงเท่านั้น และอำนาจการยิงดังกล่าวนั้นก็ทำให้ตัวประกันถูกฆ่าตาย ไปพร้อมกับผู้ก่อการร้ายด้วย จนกระทั่ง Dick Marcinko ได้ก่อตั้งกองรบพิเศษที่ 6 ( SEAL Team 6 ) ขึ้นม ทั้ง SEAL Team 6 โดย Dick Marcinko และหน่วย Delta Force ซึ่งได้พัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาในเวลาเดียวกัน โดยพันเอก Charlie A.Beckwith นั้นต่างก็ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการในการต่อต้านการก่อการร้ายโดยใช้ความเงียบ และความแม่นยำสูงจาก หน่วย Special Air Service (SAS) ของอังกฤษ ทั้ง SEAL Team Six และ Delta Force ต่างก็เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ในการต่อต้านการก่อการร้ายได้อย่างรวดเร็วซึ่งได้แก่การโจมตีผู้ก่อการร้ายในอาคาร การช่วยเหลือตัวประกันจากผู้ก่อการ ร้าย โดยทิ้งรอยกระสุนขนาด 9 มม.ไว้ที่ร่างอันไร้วิญญาณของผู้ก่อการร้าย การโจมตีในความมืดพร้อมด้วยเสียงและความ สับสนโดยใช้ระเบิดรุก การใช้ปืนเก็บเสียงทั้งปืนเล็กกลและปืนพก รวมทั้งการโจมตีผู้ก่อการร้ายในเรือ เครื่องบิน ฐานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษทุกคน จะต้องปรับตัวในด้านการปก ปิดและการอำพราง รวมทั้งมีความรวดเร็วในการเคลื่อนที่

เมื่อคิดถึงปัญหาในการเคลื่อนที่ ทำอย่างไรจึงจะส่งชุดปฏิบัติการพิเศษขึ้นไปบนเรือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือใน มหาสมุทร เครื่องบินที่จอดอยู่บนทางวิ่งซึ่งมีตัวประกันอยู่และผู้ก่อการร้ายพร้อมด้วยอาวุธร้ายแรงจำนวนมาก ฐานขุดเจาะ ก๊าซธรรมชาติ อาคารที่เต็มไปด้วยคนร้ายหรือคนวิกลจริตที่มีอาวุธและวัตถุระเบิดเป็นจำนวนมาก

ทั้งหมดที่กล่าวแล้วนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและท้าทายเป็นอย่างยิ่ง และทั้งหมดนั้นจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เป็นที่ ทราบกันดีอยู่แล้วว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมานั้น มีผู้ก่อการร้ายเป็นจำนวนมากที่ถูกฆ่าตาย แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าเป็นผล งานของหน่วย SAS, Desta Force, Spetsnaz และ หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายอื่น ๆ ซึ่งประสบผลสำเร็จทุกครั้งที่เข้าดำ เนินการ ไม่มีผู้ก่อการร้ายคนใดที่จะหนีรอดไปจากชุดปฏิบัติการพิเศษได้ ไม่ว่าจะอยู่ในทะเล หรือในเรือเหล็กขนาดใหญ่ก็ ตาม ยุทธวิธีการปราบปรามการก่อการร้ายในทะเลนั้น สามารถกล่าวได้โดยสังเขปได้ว่าการขึ้นเรือทางลับนั้น ไม่ใช่เรื่อง ง่ายดายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะเรือเดินและในเวลาที่ทัศนวิสัยจำกัด ยุทโธปกรณ์ที่ใช้นั้นบางรายการอาจจะใช้ ้เพียงเทคโนโลยีพื้นฐาน สามารถจัดหาได้ง่ายและบางรายการก็เป็นยุทโธปกรณ์พิเศษ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสม ซี่งโดยทั่วไปเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษเหล่านี้จะแต่งกายด้วยชุดสีดำ ใช้ปืนเล็กกล 9 มม. เป็นอาวุธหลัก พร้อมที่จะ ปฏิบัติการได้ทุกเมื่อและทุกหนแห่ง ในการปฏิบัติทุกครั้งจะเป็นไปด้วยความเงียบเชียบ เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษจะ พิสูจน์ทราบตัวผู้ก่อการร้าย แล้วดำเนินการลดระดับของภัยคุกคามลงด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง วิธีที่ใช้เป็นมาตรฐานคือการ ส่งกระสุนเข้าไปในสมองของผู้ก่อการร้ายซึ่งวิธีการนี้มักจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และในนาทีนั้นถ้าผู้ก่อการร้ายคิดจะยอม จำนนก็สายเกินไปแล้ว
บทเรียนดังกล่าวนั้นสลัดอากาศก็จะได้รับเช่นเดียวกัน เมื่อชุดปฏิบัติการพิเศษจะเคลื่อนกำลังไปยังเครื่องบินที่ถูก ปล้นยึดโดยไม่ให้ถูกตรวจพบ จากนั้นจึงขึ้นเครื่องพิสูจน์ทราบตัวผู้ก่อการร้ายและตัวประกันแล้ว จึงสังหารผู้ก่อการร้าย บางครั้งเครื่องบินอาจจะได้รับความเสียหายบ้าง แต่ตัวประกันจำนวนมากจะได้รับการช่วยเหลือจากเงื้อมมือผู้ก่อการร้าย สลัดอากาศอากาศที่รอดชีวิตไปได้นั้นมีน้อยมาก

บทเรียนดังกล่าวนั้น สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ยุทธ์ รวมทั้งในสถานการณ์ที่ก้ำกึ่งระหว่างสงครามตาม แบบและสงครามนอกแบบ ซึ่งในที่นี้จะเน้นไปในทางสงครามนอกแบบ ในระหว่างปฏิบัติการ Emest Will (ภารกิจคุ้มครอง เรือลำเลียงรถถังในระหว่างสงครามอิรัก – อิหร่าน) ฝ่ายอิหร่านได้ดำเนินการวางทุ่นระเบิดในอ่าวเปอร์เซีย และมีพฤติกรรม เป็นภัยคุกคามต่อเรือสินค้าและเรือรบชาติต่าง ๆ รวมทั้งสหรัฐฯ ด้วย

ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1987 เครื่องบินลาดตระเวน P-3 “Orion” ของสหรัฐ ฯ ได้ตรวจพบเรือระบายพลชื่อ“Iran Ajr” กำลังวางทุ่นระเบิด คืนต่อมาเฮลิคอปเตอร์แบบ AH-6 (Sea Bats) ซึ่งมีขนาดเล็กสีดำ และมีคุณลักษณะพิเศษในด้าน ความเงียบจากหน่วยบินปฏิบัติการพิเศษต่อต้านการก่อการร้ายของกองทัพบกสหรัฐ ฯ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Task Force 160 ( Night Stalkers ) ได้ตรวจพบเรือ และตรวจการณ์ ด้วยกล้องตรวจการณ์ในเวลากลางคืนและอุปกรณ์ตรวจการณ์ในเวลากลาง คืนด้วยอินฟราเรด รวมทั้งดักฟังการรายงานวิทยุไปยังเรือธงในเวลา 0023 พลเรือเอก Harold Bernsen ผู้บัญชาการกอง กำลังเฉพาะกิจได้อนุมัติร่างแผนการโจมตีผ่านทางวิทยุเข้ารหัส KY-57 ซึ่งสามารถส่งคำสั่งต่อไปยังเฮลิคอปเตอร์ “Little Bird” เพื่อปฏิบัติการต่อไป

เฮลิคอปเตอร์ทั้งสองลำได้โจมตีเรือ Iran Ajr จากระยะ 200 – 300 หลา โดยใช้จรวด Hydra 70 หัวรบพิเศษ ซึ่งปกติจะเป็นหัวระเบิด แต่สำหรับหัวรบพิเศษ “Fleshettes” ที่ใช้นี้จะบรรจุด้วยโลหะ ที่มีลักษณะคล้ายตะปู ซึ่งจะทำให้หัว รบนั้นมีลักษณะเหมือนลูกธนูขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ลูกเรือของอิหร่านที่อยู่บนดาดฟ้าเรือทั้งหมดเสียชีวิตและได้รับ บาดเจ็บ

จากนั้นเฮลิคอปเตอร์ได้เปิดฉากการยิงด้วยปืนกลขนาด 7.62 มม. ส่งให้ปฏิบัติการวางทุ่นระเบิดต้องล้มเลิกไปโดย ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับเรือและทรัพย์สินอื่นใด ผู้ที่ยังรอดอยู่จึงตกอยู่ในฐานะลำบาก และได้พยายามวางทุ่นระเบิดต่อ ไปอีก เฮลิคอปเตอร์ทั้งสองลำจึงเปิดฉากการยิงอีกครั้งไปยังเรือ ทำให้ลูกเรืออีกส่วนหนึ่งเสียชีวิต

ชุดปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก (ARG SEAL) ที่อยู่บนเรือ USS Guadalcanal ได้ขึ้นไปบนเรือของอิหร่านเพื่อ ดำเนินการตรวจค้นโดยมีหมวดเรือปฏิบัติการพิเศษให้การสนับสนุนการปฏิบัติ ผลการตรวจค้นยังมีลูกเรือของอิหร่านรอดชีวิต อีกกว่า 20 นาย บางรายได้รับบาดเจ็บและที่เหลือพยายามหลบหนีการจับกุม ซึ่งก็ไม่รอดพ้นไปจากหมวดเรือปฏิบัติการพ ิเศษ ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งของสงครามพิเศษทางเรือ หลังจากนั้นมาก็ไม่พบทุ่นระเบิดในอ่าว เปอร์เซียอีก

การปฏิบัติทุกครั้งมิได้เรียบร้อยเสมอไป การโจมตีฐานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติที่ฝ่ายอิหร่านใช้เป็นฐานยิงประเทศ เพื่อนบ้านในอ่าวเปอร์เซียโดยเฮลิคอปเตอร์ของ กองทัพบกสหรัฐ ฯ ซึ่งได้ระดมยิงอย่างหนักนั้น อมภัณฑ์ที่ใช้ส่วนหนึ่งมีระ เบิดแรงสูงรวมอยู่ด้วย ส่งผลให้เกิดไฟไหม้ฐานขุดเจาะก๊าซธรรมชาตินั้น ก่อนที่ชุดปฏิบัติการพิเศษจะเข้าปฏิบัติภารกิจ

ถ้าชุดปฏิบัติการพิเศษมีโอกาสเข้าปฏิบัติการอีกครั้ง ก็จะเลือกใช้วิธีการเข้าโดยการส่งลงด้วยเชือกเร่งด่วน (Fast Rope) จากเฮลิคอปเตอร์ลงบนฐานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ แล้วรวมกำลังเข้ากวาดล้างอย่างรวดเร็วและรอบคอบ ซึ่งการ ปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่สามารถตอบโต้ได้ทัน โดยจะชะงักงันเนื่องจากการปรากฏตัวขึ้นอย่างฉับพลันของชุด ปฏิบัติการ ฃ พิเศษ รวมทั้งเสียงและอำนาจการยิง การจัดกำลังตอบโต้นั้น จะกระทำได้ยากเนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น อย่ารวดเร็วเกินกว่าที่จะตอบโต้ได้ทันที แต่ถ้ามีการตอบโต้ก็จะไม่มีการจับเป็น

การสะท้อนแสงและความไม่สมบูรณ์อื่น ๆ ของยุทโธปกรณ์นั้น ทำให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐ ฯ ได้มีการ พัฒนาเกี่ยวกับอาวุธ ยุทธวิธี หลักปฏิบัติและนำประสบการณ์ที่ได้รับมาพิจารณาเปรียบเทียบกับบทเรียนของอังกฤษและ อิสราเอล เพื่อกำหนดเป็นยุทธศิลป์ในการปราบปรามการก่อการร้ายและการปฏิบัติการพิเศษทุกรูปแบบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: